ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกับระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย
Abstract
อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ถือว่าเป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรู้ (Knowledge-based) นวัตกรรม (Innovation-driven) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity-led) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ ทั้งนี้ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่อง โดยบรรจุยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งถือว่า ระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และเชิงวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) เป็นรูปแบบการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญา และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นทุนสำคัญในการคิดค้น ผลิตสินค้าและบริการที่มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ ในขณะเดียวกันระบบดิจิทัลเทคโนโลยียังช่วยให้เกิดเครือข่ายสังคมผู้บริโภคที่เชื่อมต่อกันทั่วทั้งโลก ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถเชื่อมต่อกันด้วยช่องทางการค้าออนไลน์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ ประเด็นที่สาคัญอีกประการหนึ่งในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน (Sustainable Competitiveness) ของผู้ประกอบการ คือ การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีการนำแนวคิดและองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ซึ่งจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมากอีกด้วย (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน), 2562)...
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.