อิทธิพลของเครือข่ายการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมต่อการลด พฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของเยาวชนไทย
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเครือข่ายการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของเยาวชนไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มนิสิตนักศึกษาอายุ 18 – 24 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 600 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า เครือข่ายทางการสื่อสารทั้ง 4 มิติ มีอิทธิพลต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของเยาวชนไทย กล่าวคือ มิติด้านจำนวนสื่อที่ใช้ในการเผยแพร่ข่าวสารสู่เครือข่ายมีอิทธิพลสูงสุด (β = -.207) รองลงมาคือ มิติด้านความถี่ของการสื่อสารในเครือข่าย (β = -.128) ความตั้งใจที่จะเผยแพร่ข่าวสารสู่เครือข่าย (β = -.117) และขนาดของเครือข่ายทางการสื่อสาร (β = -.080) ตามลำดับ ดังนั้น นักการตลาดเพื่อสังคมจึงควรนำเครือข่ายทางการสื่อสารไปใช้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับการวัดประสิทธิผลการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคมเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของเยาวชนไทยต่อไป
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.