ระดับการศึกษาของแรงงานและอิทธิพลที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น

Abstract


 งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระดับการศึกษา ซึ่งวัดโดยจำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษา ของแรงงานใน 15 ภาคการผลิตของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2544 – 2553 รวมทั้งทำการวิเคราะห์อิทธิพลของระดับการศึกษาที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าระดับการศึกษาของแรงงานในประเทศไทยในภาพรวมยังอยู่ในระดับตํ่า โดยมีจำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษา เพียง 6.88 ปี ในปี พ.ศ.2553 หรืออีกนัยหนึ่งคือ แรงงานส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาเท่านั้น เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคการผลิต พบว่าแรงงานในภาคการเป็นสื่อกลางทางการเงินมีระดับการศึกษาสูงที่สุด ในขณะที่ภาคเกษตรกรรม ล่าสัตว์ และป่าไม้ เป็นภาคการผลิตที่แรงงานมีระดับการศึกษาตํ่าที่สุด นอกจากนี้ เมื่อทำการวิเคราะห์อิทธิพลของระดับการศึกษาของแรงงานที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งวัดโดย อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแท้จริง พบว่าระดับการศึกษามีอิทธิพลในเชิงบวกต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ หากแรงงานมีการศึกษาเพิ่มขึ้น 1 ปี จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแท้จริงมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 18.35 สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่นอกไปจากระดับการศึกษา ได้แก่ จำนวนชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ของแรงงานและร้อยละของแรงงานที่ต้องการทำงานเพิ่มขึ้น

 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.